








อย.
GMP
มาตรฐานอาหารฮาลาลปัจจุบันในตลาดโลกมีผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมอยู่ประมาณ 2,000 ล้านคนการค้าขายจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดอาหารจากประเทศที่มีชาวมุสลิมให้มากขึ้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศทีผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในเครื่องหมายนี้อย่างจริงจัง ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเรียนรู้ และอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อเตรียมความพร้อมของการผลิต สร้างฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศต่อไปข้อแนะนำในการดำเนินการสำหรับการใช้คำ " ฮาลาล " (Halal) หรือการอวดอ้างใช้คำฮาลาลบนฉลากอาหาร
Codex ได้จัดทำเอกสาร General Guideline for use of the Term " Halal " ตั้งแต่ปี 2540 และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้นำมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยได้ยึดหลัก และอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษดังกล่าว มอก.1701-2541 ZCAC GL- 24/1997) ข้อแนะนำนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีความเข้าใจที่ตรงกัน และมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม ทั้งทางด้านแหล่งที่มาของอาหาร วิธีการฆ่าสัตว์ การเตรียมอาหาร การแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการเก็บรักษาอาหารอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการค้ากับประเทศมุลลิมที่กำหนดมาตรการนำเข้าอาหารฮาลาล
เกณฑ์กำหนดสำหรับการใช้คำว่าอาหารฮาลาล
อาหารที่ถูกต้องตามกฎคำ ฮาลาล จะใช้สำหรับอาหารที่ได้พิจารณาแล้วว่าถูกต้องตามกฎภายใต้บทบัญญัติศาสนาอิสลามจะถือว่าแหล่งอาหารทั้งหมดถูกต้องตามกฎ ยกเว้นแหล่งอาหารต่อไปนี้
1.อาหารที่ได้จากสัตว์
(1) หมูและหมูป่า
(2) สุนัข งู และลิง
(3) สัตว์ทีกินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่นที่คล้ายกัน
(4) นกกินเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้งและนกที่คล้ายกันอื่น ๆ
(5) สัตว์ทำลาย เช่น หนู ตะขาบ แมลงป่อง และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(6) สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน
(7) สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด ไร เหา แมลงวัน หนอน และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(8) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ จระเข้ และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(9) ล่อและลาทีเป็นสัตว์เลี้ยง
(10) สัตว์น้ำมีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด
(11) สัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม
(12) เลือด(โลหิต)
2. อาหารที่ได้จากพืช พืชที่มีพิษและเป็นอันตราย ยกเว้นเมื่อสารพิษและอันตรายได้ถูกกำจัดออกระหว่างกระบวนการผลิตแล้
3. เครื่องดื่ม
(1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
(2) เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีพิษและอันตราย
4. วัตถุเจือปนอาหารวัตถุเจือปนอาหารมีที่มาจากทั้ง 3 แหล่งข้างต้นตามข้อ 1, 2 และ 3
วิธีการฆ่าสัตว์ สัตว์บกที่ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลามการฆ่าควรต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขลักษณที่ดีของเนื้อสดที่โคเด็กซ์แนะนำ (Codex RecommendedCode of hygienic practice for Fresh Meat) และตามข้อกำหนดต่อไปนี้
1. คนฆ่าสัตว์ควรต้องเป็นมุสลิม ผู้ยึดมั่นในหลักการอิสลามอย่างเคร่งครัด และมีความรู้ในวิธีการฆ่าสัตว์ตามหลักการของศาสนาอิสลาม
2. สัตว์ที่ถูกฆ่าควรถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม
3. สัตว์ที่ถูกฆ่าควรเป็นสัตว์ที่มีชีวิต หรือเชื่อว่ายังมีชีวิต ณ เวลาที่ฆ่าสัตว์นั้น
4. ก่อนที่จะฆ่าสัตว์แต่ละตัวควรกล่าวคำว่า " บิสมิลล่า " (ในนามของอัลเลาะห์พระผู้เป็นเจ้า) อย่างทันทีทันใด
5. อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ฆ่าควรต้องมีความคม และไม่ยกออกจากตัวสัตว์ในระหว่างการฆ่า
6. การฆ่าสัตว์ควรต้องตัดหลอดลม หลอดอาหาร เส้นเลือดแดงใหญ่ และเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอให้ขาด
การเตรียม การผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารของโคเก็กซ์ (Codex General Principles on Food Hygeinic) และมาตรฐานอาหารของโคเด็กซ์เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ประกอบการจะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมารับรองอาหารฮาลาลได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ กระบวนการผลติตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดตลอดห่วโซ่การผลิต นอกจากจะต้อง " ฮาลาล" (Halal) ซึ่งมีความหมายว่า "ถูกต้องตามกฎ หรือการอนุญาต" แล้วสุขลักษณะที่ดีของการผลิตอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวดเพราะการค้าในโลกปัจจุบัน ต้องปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งเน้นความปลอดภัยของอาหาร และ GMP, HACCP หรือระบบการจัดการ ด้านคุณภาพ ISO โดยเฉพาะระบบ HACCP เป็นระบบหนึ่งที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นระบบควบคุมความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างแท้จริง ระบบการควบคุมคุณภาพมาตรฐานนี้จึงได้นำมาใช้ควบคู่กันกับการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สร้างความมั่นใจในตัวสินค้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด ดังนั้นการที่จะผลิตอาหารเพื่อให้ได้ฮาลาล จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักการในข้อกำหนดที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งทางศาสนาและต้องเป็นไปตามข้อกำหนดสุขลักษณะที่ดีของการผลิตอาหารและมาตรฐานสินค้าอาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ขาดเสียมิได้นั้นคือ นโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเพื่อให้อุตสาหกรรม อาหารฮาลาลไทยได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของแดนไกล ให้สมกับความมุ่งหมายที่ผลักดันให้ครัวไทยได้เป็นครัวของโลก และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล " จะต้องดำเนินการกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากคณะกรรมการกลางแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณีก่อน และจะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก่อน
ความเป็นมาของ GMP
GMP (Good Manufacturing Practice) คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐาน (Food Safety Management System) คือ การจัดการเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบทางลบต่อผู้บริโภค เมื่ออาหารนั้นถูกเตรียมหรือบริโภค
เริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้กำหนดเป็น กฎหมายหลักเกณฑ์ว่าด้วย สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหารทุกประเภท จากนั้นก็มีกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารประเภทต่างๆ ตามมา ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ได้ประกาศกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ (Low Acid Canned Foods; LACF) เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษที่สร้างโดยเชื้อ Clostridium botulinum หากวิธีการผลิตไม่เหมาะสม แนวคิดการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารโดยใช้ GMP ได้มีการผลักดันเข้าสู่โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO ซึ่งรับผิดชอบการจัดทำมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า Codex Alimentarius ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า "Food Code" หรือ "Food Law" Codex ได้ อ้างอิง GMP ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไปของสหรัฐอเมริกา และรวบรวมข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก จัดทำเป็นข้อแนะนำระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร (Recommended International Code of Practice: General Principles of Food Hygiene) และยังได้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านสุขลักษณะ (Code of Hygienic Practice)