Monday, February 26, 2007

การรับประกันมาตรฐาน


สินค้าเราผ่านการประกันมาตรฐานโดย

ฮาลาล

อย.

อาหารปลอดภัย
เปิบพิสดาร
OTOP

GMP

มาตรฐานอาหารฮาลาลปัจจุบันในตลาดโลกมีผู้บริโภคที่เป็นมุสลิมอยู่ประมาณ 2,000 ล้านคนการค้าขายจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดอาหารจากประเทศที่มีชาวมุสลิมให้มากขึ้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศทีผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องให้ความสนใจในเครื่องหมายนี้อย่างจริงจัง ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องเรียนรู้ และอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อเตรียมความพร้อมของการผลิต สร้างฐานที่แข็งแกร่งให้กับประเทศต่อไปข้อแนะนำในการดำเนินการสำหรับการใช้คำ " ฮาลาล " (Halal) หรือการอวดอ้างใช้คำฮาลาลบนฉลากอาหาร
Codex ได้จัดทำเอกสาร General Guideline for use of the Term " Halal " ตั้งแต่ปี 2540 และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม(สมอ.) ได้นำมาเรียบเรียงและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยได้ยึดหลัก และอ้างอิงเอกสารภาษาอังกฤษดังกล่าว มอก.1701-2541 ZCAC GL- 24/1997) ข้อแนะนำนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ประเทศต่าง ๆ มีความเข้าใจที่ตรงกัน และมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม ทั้งทางด้านแหล่งที่มาของอาหาร วิธีการฆ่าสัตว์ การเตรียมอาหาร การแปรรูปอาหาร การบรรจุหีบห่อ การขนส่งและการเก็บรักษาอาหารอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการค้ากับประเทศมุลลิมที่กำหนดมาตรการนำเข้าอาหารฮาลาล

เกณฑ์กำหนดสำหรับการใช้คำว่าอาหารฮาลาล

อาหารที่ถูกต้องตามกฎคำ ฮาลาล จะใช้สำหรับอาหารที่ได้พิจารณาแล้วว่าถูกต้องตามกฎภายใต้บทบัญญัติศาสนาอิสลามจะถือว่าแหล่งอาหารทั้งหมดถูกต้องตามกฎ ยกเว้นแหล่งอาหารต่อไปนี้
1.อาหารที่ได้จากสัตว์

(1) หมูและหมูป่า
(2) สุนัข งู และลิง

(3) สัตว์ทีกินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่นที่คล้ายกัน

(4) นกกินเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้งและนกที่คล้ายกันอื่น ๆ

(5) สัตว์ทำลาย เช่น หนู ตะขาบ แมลงป่อง และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(6) สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศาสนาอิสลาม เช่น มด ผึ้ง และนกหัวขวาน
(7) สัตว์น่ารังเกียจโดยทั่วไป เช่น เห็บ หมัด ไร เหา แมลงวัน หนอน และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(8) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ จระเข้ และสัตว์ที่คล้ายกันอื่น ๆ
(9) ล่อและลาทีเป็นสัตว์เลี้ยง

(10) สัตว์น้ำมีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด

(11) สัตว์อื่น ๆ ที่ไม่ได้ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม


(12) เลือด(โลหิต)

2. อาหารที่ได้จากพืช พืชที่มีพิษและเป็นอันตราย ยกเว้นเมื่อสารพิษและอันตรายได้ถูกกำจัดออกระหว่างกระบวนการผลิตแล้
3. เครื่องดื่ม
(1) เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

(2) เครื่องดื่มทุกชนิดที่มีพิษและอันตราย

4. วัตถุเจือปนอาหารวัตถุเจือปนอาหารมีที่มาจากทั้ง 3 แหล่งข้างต้นตามข้อ 1, 2 และ 3
วิธีการฆ่าสัตว์ สัตว์บกที่ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลามการฆ่าควรต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขลักษณที่ดีของเนื้อสดที่โคเด็กซ์แนะนำ (Codex RecommendedCode of hygienic practice for Fresh Meat) และตามข้อกำหนดต่อไปนี้


1. คนฆ่าสัตว์ควรต้องเป็นมุสลิม ผู้ยึดมั่นในหลักการอิสลามอย่างเคร่งครัด และมีความรู้ในวิธีการฆ่าสัตว์ตามหลักการของศาสนาอิสลาม

2. สัตว์ที่ถูกฆ่าควรถูกต้องตามกฎของศาสนาอิสลาม

3. สัตว์ที่ถูกฆ่าควรเป็นสัตว์ที่มีชีวิต หรือเชื่อว่ายังมีชีวิต ณ เวลาที่ฆ่าสัตว์นั้น

4. ก่อนที่จะฆ่าสัตว์แต่ละตัวควรกล่าวคำว่า " บิสมิลล่า " (ในนามของอัลเลาะห์พระผู้เป็นเจ้า) อย่างทันทีทันใด

5. อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ฆ่าควรต้องมีความคม และไม่ยกออกจากตัวสัตว์ในระหว่างการฆ่า


6. การฆ่าสัตว์ควรต้องตัดหลอดลม หลอดอาหาร เส้นเลือดแดงใหญ่ และเส้นเลือดดำใหญ่ที่คอให้ขาด
การเตรียม การผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหารของโคเก็กซ์ (Codex General Principles on Food Hygeinic) และมาตรฐานอาหารของโคเด็กซ์เรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ประกอบการจะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมารับรองอาหารฮาลาลได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ กระบวนการผลติตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดตลอดห่วโซ่การผลิต นอกจากจะต้อง " ฮาลาล" (Halal) ซึ่งมีความหมายว่า "ถูกต้องตามกฎ หรือการอนุญาต" แล้วสุขลักษณะที่ดีของการผลิตอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งยวดเพราะการค้าในโลกปัจจุบัน ต้องปฏิบัติตามมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งเน้นความปลอดภัยของอาหาร และ GMP, HACCP หรือระบบการจัดการ ด้านคุณภาพ ISO โดยเฉพาะระบบ HACCP เป็นระบบหนึ่งที่อิงหลักการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับในระดับสากลว่าเป็นระบบควบคุมความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างแท้จริง ระบบการควบคุมคุณภาพมาตรฐานนี้จึงได้นำมาใช้ควบคู่กันกับการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อเป็นหลักประกันความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สร้างความมั่นใจในตัวสินค้า และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาด ดังนั้นการที่จะผลิตอาหารเพื่อให้ได้ฮาลาล จะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักการในข้อกำหนดที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งทางศาสนาและต้องเป็นไปตามข้อกำหนดสุขลักษณะที่ดีของการผลิตอาหารและมาตรฐานสินค้าอาหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่ขาดเสียมิได้นั้นคือ นโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนเพื่อให้อุตสาหกรรม อาหารฮาลาลไทยได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของแดนไกล ให้สมกับความมุ่งหมายที่ผลักดันให้ครัวไทยได้เป็นครัวของโลก และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล " จะต้องดำเนินการกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดยผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากคณะกรรมการกลางแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณีก่อน และจะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก่อน

ความเป็นมาของ GMP

GMP (Good Manufacturing Practice) คือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีสำหรับการผลิต เป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิต เช่น การควบคุมสุขลักษณะส่วนบุคคล การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เป็นต้น ซึ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารขั้นพื้นฐาน (Food Safety Management System) คือ การจัดการเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบทางลบต่อผู้บริโภค เมื่ออาหารนั้นถูกเตรียมหรือบริโภค

เริ่มต้นมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้กำหนดเป็น กฎหมายหลักเกณฑ์ว่าด้วย สุขลักษณะทั่วไปในการผลิตอาหารทุกประเภท จากนั้นก็มีกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารประเภทต่างๆ ตามมา ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) ได้ประกาศกฎหมาย GMP สำหรับการผลิตอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ (Low Acid Canned Foods; LACF) เนื่องจากอาหารประเภทนี้มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษที่สร้างโดยเชื้อ Clostridium botulinum หากวิธีการผลิตไม่เหมาะสม แนวคิดการประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารโดยใช้ GMP ได้มีการผลักดันเข้าสู่โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO ซึ่งรับผิดชอบการจัดทำมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า Codex Alimentarius ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า "Food Code" หรือ "Food Law" Codex ได้ อ้างอิง GMP ว่าด้วยสุขลักษณะทั่วไปของสหรัฐอเมริกา และรวบรวมข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก จัดทำเป็นข้อแนะนำระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหาร (Recommended International Code of Practice: General Principles of Food Hygiene) และยังได้กำหนดวิธีปฏิบัติด้านสุขลักษณะ (Code of Hygienic Practice) เฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างไว้ด้วย นอกจากนี้ Codex ยังได้จัดทำข้อแนะนำ การใช้ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและ จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point; HACCP) เป็นภาคผนวก หรือ Annex ใน General Principles of Food Hygiene และผ่านการรับรองจากคณะกรรมาธิการของ Codex (CAC) เมื่อเดือนมิถุนายน 1997 (พ.ศ. 2540) Codex ได้แนะนำไว้อย่างชัดเจนว่า การจัดทำระบบ HACCP ให้ได้ผลดี จำเป็นต้องมีการควบคุมสุขลักษณะที่ดี และมีประสิทธิภาพ และขอให้ใช้ข้อแนะนำการใช้ระบบ HACCP ควบคู่กับหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex ด้วยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization; WTO) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ เมษายน 1994 (พ.ศ. 2537) ได้มีการประชุมเกี่ยวกับการค้าเสรี ของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรกับประเทศสมาชิก คณะกรรมการ Codex ได้มีข้อเสนอความตกลงว่าด้วยการประยุกต์ใช้ มาตรการสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures; SPS) และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on the Technical Barriers to Trade;TBT) ประโยชน์ของการจัดทำระบบ GMP
เป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยมีการควบคุมการผลิตในการผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย เน้นที่การป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับโรงงาน ส่งเสริมการค้าทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้เปรียบคู่แข่ง มีการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ช่วยลดปริมาณของเสีย และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานมีความตระหนักและเกิดความเข้าใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร

No comments: